ย้อนกลับไปในปี 1980 เคยมีข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรคบนเครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้ผู้โดยสารติดเชื้อไปกันหมด อย่างกับหนังซอมบี้ World War Z อย่างไรอย่างนั้น แต่จริงๆ แล้วข่าวนี้ยังไม่มีหลักฐานที่่ชัดเจนว่าเป็นความจริงหรือไม่ แต่จากการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบินมีความเสี่ยงน้อยมากที่จะติดเชื้อ เนื่องจากในห้องโดยสารของเครื่องบินมีการควบคุมอากาศอย่างระมัดระวัง โดยจะระบายลมจากภายนอกเพื่อให้มีอากาศหมุนเวียน 20-30 ครั้งต่อชั่วโมง ผ่านระบบกรองอากาศคุณภาพสูงแบบเดียวกับที่ใช้ในห้องผ่าตัดและห้องฉุกเฉิน ทำให้เครื่องกรองอากาศบนเครื่องบินสามารถดักจับฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้โดยสารบนเครื่องบินจะไม่มีโอกาสติดเชื้อซะทีเดียว เพราะเชื้อไวรัสโคโรนานั้นสามารถติดต่อกันได้ผ่านการไอ จาม และสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงหรือสัมผัสสารคัดหลั่งบนสิ่งของที่ผู้ป่วยเคยสัมผัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่ผู้ป่วยทิ้งไว้บนสิ่งของนี้เองที่จะไม่ถูกดูดผ่านเครื่องกรองอากาศ ทำให้เชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ตรงนั้น รอผู้โดยสารที่โชคร้ายคนอื่นมาสัมผัสและเกิดจากติดเชื้อเช่นเดียวการติดเชื้อบนสถานที่อื่นๆ เช่น รถไฟหรือรถเมล์
ดังนั้นการที่เราลุกจากที่นั่งแล้วเดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ไปสัมผัสโดนเชื้อไวรัส ในกรณีที่มีผู้ติดเชื้ออยู่บนเครื่อง ดังที่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ในปี 2018 ระบุไว้ แต่ถ้าเรานั่งเฉยๆ คนที่มีโอกาสติดเชื้อคือคนที่นั่งใกล้ผู้ติดเชื้อในรัศมี 1 เมตรเท่านั้น โดยคนที่นั่งอยู่ห่างที่สุดจะมีโอกาสติดเชื้อแค่ 3% เท่านั้น แต่เพื่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็ควรล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และใส่หน้ากากอนามัย N95 ที่สามารถกรองทั้งเชื้อไวรัสและฝุ่นไว้ตลอดเวลาจะดีกว่า
การเดินทางโดยเครื่องบินยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ถ้าไม่จำเป็นช่วงนี้ก็ไม่ควรที่จะออกไปไหน เเต่ถ้าหากใครจำเป็นที่จะต้องเดินทางจริงๆ เราก็สามารถป้องกันได้ในระดับนึง ทั้งการล้างมืออยู่เป็นประจำ เเละใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อไวรัสไว้อย่างสม่ำเสมอ
ที่มา : eduhub
BY : หนูนา
สนใจแพคเกจท่องเที่ยว, ตั๋วเครื่องบินทั่วโลก หรือบัตรท่องเที่ยวต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-2945598, 092-294 5598
หรือ คลิ๊ก https://www.itravelroom.com/